ลักษณะทางกายภาพของห้องผ่าตัด
1. มีพื้นที่วางเตียงพร้อมเครื่องมือ/อุปกรณ์ช่วยชีวิตต่างๆ 1 เตียงต่อ 1 ห้อง
2. ห้องผ่าตัดต้องอยู่ในเขตปลอดเชื้อ (Sterile Area)
3. ห้องผ่าตัดขนาดพื้นที่ไม่น้อยกว่า 25 ตารางเมตร โดยมีส่วนที่แคบที่สุดไม่น้อยกว่า 5 เมตร
4. มีทางทิ้งของสกปรกแยกจากทางเข้าอย่างชัดเจน
5. วัสดุปูพื้นในห้องผ่าตัดทนการขีดข่วน ทนต่อการรับน้ำหนักใช้งาน ทนสารเคมีป้องกันไฟฟ้าสถิต ผิวเรียบ ไม่มี รอยต่อหรือรอยต่อน้อย ไม่ลื่น ไม่ซึมซับของเหลว
6. วัสดุบุผนังห้องผ่าตัดทนสารเคมี ผิวเรียบ ไม่มีเหลี่ยมคม ไม่มีรอยต่อหรือรอยต่อน้อย ไม่สะสมสิ่งสกปรก ฝุ่นละออง
หรือเชื้อโรค, ทนความชื้นที่นิยมใช้ในปัจจุบันคือ Compact Laminate
7. ฝ้าเพดานในห้องผ่าตัด เรียบไม่มีรอยต่อ ไม่มีรูพรุน ไม่สะสมสิ่งสกปรก ฝุ่นละออง เชื้อโรค ทนความชื้น ออกแบบให้ปิดขอบ / มุม
8. ความสูงฝ้าเพดานของห้องผ่าตัดไม่น้อยกว่า 3.00 เมตร
9. ประตูห้องผ่าตัดลดการใช้มือสัมผัส อาจออกแบบให้เป็นระบบอัตโนมัติ ช่องเปิดประตูความกว้างไม่น้อยกว่า 1.50 เมตร และมีช่องมองเห็นภายในห้องได้
10. มีประตูส่งของสกปรกภายในห้องผ่าตัด กว้างไม่น้อยกว่า 0.7 เมตร สามารถส่งของสกปรกได้ สะดวก
11. ประตูห้องผ่าตัดควรมีความสามารถในการกักเก็บอากาศ เพื่อควบคุมอุณหภูมิและรักษาแรงดันอากาศ ภายในห้องผ่าตัด
12. หน้าต่างและช่องแสงในห้องผ่าตัด สามารถป้องกันสัตว์และแมลงที่เป็นพาหะของเชื้อโรคได้
13. ครุภัณฑ์ใช้วัสดุที่ใช้ในห้องผ่าตัด ต้องไม่สะสมสิ่งสกปรก ฝุ่นละออง เชื้อโรค แข็งแรงมั่นคง ไม่มีมุมแหลมคม
14. ระดับพื้นภายในแผนกจะต้องเรียบเป็นระดับเดียวกัน 5.1.15 มีระบบควบคุมการเข้าออกแผนกผ่าตัด
แหล่งข้อมูล
กองวิศวกรรมการแพทย์ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ
http://medi.moph.go.th/km/oricer.pdf