ห้องแยกโรคผู้ป่วยแพร่เชื้อทางอากาศ
ผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจนั้นสามารถแพร่กระจายเชื้อติดต่อไปยังบุคคลอื่นได้ การมีห้องแยกโรคที่ พร้อมใช้งานจึงช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงการติดต่อแพร่กระจายเชื่อไปสู่เจ้าหน้าที่ ญาติหรือบุคคลอื่นได้ ผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจในระยะแพร่กระจายเชื้อต้องเข้าพักรักษาตัวที่บริเวณห้องแยกโรคผู้ป่วยแพร่เชื้อ ทางอากาศนี้ ที่สามารถควบคุมความดันภายในห้องให้เป็นลบ Negative Pressure เพื่อแยกพักรักษาตัวออก จากผู้ป่วยทั่วไปและป้องกันการแพร่กระจายเชื้อได้ แต่จากการใช้งานจริงพบว่า ผู้ป่วยจำนวนมากที่เข้าพักรู้สึกร้อนและอึดอัด ผู้ป่วยบางรายมีพฤติกรรมพยายามเปิดช่องหน้าต่างหรือประตู และบางรายมีความประสงค์ขอไม่เข้าพักรักษาตัวในห้องแยกโรคดังกล่าว เกิดการใช้งานห้องแยกโรคไม่เต็มประสิทธิภาพตาม ระบบควบคุมที่ดิดตั้งไว้ อากาศสามารถไหลข้ามบริเวณ ได้โดยไม่ถูกต้องตามหลักการและมาตรฐาน เกิดความเสี่ยงในการใช้งานนั้น
ห้องแยกโรคผู้ป่วยแพร่เชื้อทางอากาศของโรงพยาบาลชุมชน
ห้องแยกโรคโรงพยาบาลชุมชนเป็นห้องแยกโรคที่ปรับปรุงมาจากห้องพิเศษเดิมโดย ส่วนใหญ่จะ
ปรับปรุงจากห้องพิเศษห้องสุดท้ายที่อยู่ริมสุดของอาคาร
การจัดแบ่งโซนพื้นที่ของห้องแยกโรค แบ่งเป็น 3 ส่วนคือ
1. ห้องเตรียม (Ante Room) เป็นห้องเก็บวัสดุอุปกรณ์ เตรียมตัวของเจ้าหน้าที่ก่อนเข้าไป
ปฏิบัติงานในห้องพักผู้ป่วย เป็นห้องปรับอากาศก่อนส่งเข้าสู่ห้องพักผู้ป่วย เพื่อช่วยสนับสนุนให้ห้องแยก
ผู้ป่วยแพร่เชื้อทางอากาศเป็นห้องที่มี โอกาสแพร่เชื้อออกจากห้องให้น้อยที่สุดโดยมีห้องสองชั้นเพื่อสร้างให้
เกิดห้องโถงขนาดเล็กก่อนเข้าถึงห้องภายใน
2. ห้องพักผู้ป่วย (Isolate Room) เป็นห้องพักรักษาตัวของผู้ป่วย มีระบบระบายอากาศที่หัวเตียง
สู่ป่วยเพื่อเจือจางและกำจัดเชื้อที่อยู่ภายในห้องออกบริเวณหัวเตียงผู้ป่วย ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรค
ไปสู่บริเวณโดยรอบ
3. ห้องน้ำ (Toilet Room) เป็นห้องน้ำสำหรับผู้ป่วยที่พักรักษาตัวในห้อง Isolate Room ผู้ป่วย
สามารถเข้าห้องน้ำได้โดยที่ไม่ต้องออกจากห้องควบคุมความดัน ห้องน้ำมีระบบกรองอากาศและระบาย
อากาศที่ออกจากห้องน้ำตามมาตรฐาน
Reference
กองวิศวกรรมการแพทย์
กระทรวงสาธารณะสุข
http://medi.moph.go.th/km/km2560/croom.pdf