2. แนวทางการปรับปรุงห้องผ่าตัดความดันลบ (Modify Negative Pressure Operating Room) สำหรับผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในสถานการณ์ฉุกเฉิน

การเลือกห้องผ่าตัดมาใช้สำหรับผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ควรมีการพิจารณา อย่างรอบคอบระหว่างทีมแพทย์และวิศวกรเพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมที่สุด และให้มีการทำ Air balance เพื่อควบคุมความดันของห้องต่าง ๆ ทิศทางการไหลของอากาศ ทั้งภายในห้องผ่าตัดและห้องใกล้เคียง เส้นทาง สัญจรของแพทย์, บุคลากร, ของสะอาด, ของสกปรก และผู้ป่วย รวมถึงภาพรวมของทั้งแผนกผ่าตัด ให้ถูกต้อง ตามหลักทางการแพทย์และวิศวกรรม

 ลักษณะการ Modify ระบบปรับอากาศและระบายอากาศสำหรับห้องผ่าตัด

ให้ดำเนินการทำให้ห้องผ่าตัดมีความดันลบ (Negative pressure) เมื่อเทียบกับพื้นที่ใกล้เคียงทุกด้าน เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ (ทั้งนี้มาตรฐานไม่ได้มีระบุการท าห้องผ่าตัดแบบความดันลบไว้ ดังนั้นจึงต้อง อยู่ในดุลพินิจของบุคลากรทางการแพทย์และวิศวกรในการประเมินความเสี่ยงในการทำห้องผ่าตัดให้มีความดัน เป็นลบ) โดยการปรับปรุงระบบปรับอากาศและระบายอากาศของตัวห้องผ่าตัดจะต้องยึดถือข้อกำหนดในการ ออกแบบดังนี้เป็นอย่างน้อย

1 อุณหภูมิ23±2 °C

2 ความชื้น 50±10% RH

3 ความดันลบอย่างน้อย -2.5 PA

4 อัตราการหมุนเวียนอากาศไม่ต่ำกว่า 20 ACH

5 อัตราการนำเข้าอากาศบริสุทธิ์ไม่ต่ำกว่า 4 ACH

 ให้ดำเนินการติดตั้ง Ante room ก่อน และ/หรือ หลังห้องผ่าตัด โดยที่จะต้องทำให้ห้องมีความดันบวก (Positive pressure) และอากาศที่ไหลเข้าห้องผ่าตัดสะอาดแบบเทียบเคียงกับอากาศของห้องผ่าตัด โดยให้อากาศผ่าน HEPA filter เช่น การติดตั้ง Fan Filter Unit with HEPA filter ที่ห้อง Ante room รวมถึงต้องพิจารณาผลของอุณหภูมิและความชื้นของอากาศในห้อง Ante room ไม่ให้มีผลกระทบกับการ ควบคุมอุณหภูมิและความชื้นของห้องผ่าตัดและให้ด าเนินการเพิ่มเติม และ/หรือ ปรับปรุงระบบระบายอากาศ ให้มีอัตราลมระบายอากาศ มากกว่าอัตราการนำเข้าอากาศจากภายนอก ให้ห้องมีความดันลบ (Negative pressure) อย่างน้อย 2.5 Pa

แหล่งข้อมูล

http://www.sbo.moph.go.th/sbo/file/eoc/corona/case%20management/CM_newnormal